วัสดุและอุปกรณ์การแพทย์ในประเทศไทย โดย ดร.จินตมัย สุวรรณประทีป
            ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้วัสดุการแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ เพื่อรักษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก แต่วัสดุและอุปกรณ์การแพทย์ที่สามารถผลิตได้ ในประเทศจัด เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับต่ำถึงระดับกลาง คือ
            ๑. กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านโลหะ เช่น เตียงผ่าตัด เตียงคนไข้
            ๒. กลุ่มผลิตภัณฑ์ทันตกรรม เช่น ชุดยูนิตทำฟันครบชุด เครื่องขูดหินปูนไฟฟ้า
            ๓. กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุดแต่งกายสำหรับการใช้งานในห้องผ่าตัด
           ๔. กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทใช้สิ้นเปลืองจำนวนมาก เช่น สำลี ผ้ากอซ ผ้าพันแผล ชุดให้น้ำเกลือ
           ๕. กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลาง เช่น เครื่องรังสีเอกซ์ เครื่องนึ่ง เครื่องวัดความดันโลหิต

           ส่วนวัสดุและอุปกรณ์การแพทย์ที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น วัสดุปลูกฝัง (implant) ต่างๆ ซึ่งเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศแทบทั้ง หมด ทำให้วัสดุและอุปกรณ์การแพทย์ดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูง ส่งผลให้ผู้ ป่วยซึ่งมีฐานะยากจน ไม่สามารถที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ได้ นอกจากนี้อุปกรณ์บางประเภทที่นำเข้าจากต่างประเทศมักได้รับการออกแบบ โดยใช้ข้อมูลกายวิภาคของชาวตะวันตกเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากกายวิภาคของคน ไทย ดังนั้นจึงทำให้การใช้งานบางครั้งมีอุปสรรค และประสิทธิภาพในการรักษาลดลง ซึ่งจากข้อมูลของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์  กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าประเทศไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการ แพทย์ในช่วง พ.ศ.  ๒๕๓๘ - ๒๕๔๑  เป็นมูลค่าปีละ ๖,๐๐๐ - ๘,๐๐๐ ล้านบาท และใน พ.ศ. ๒๕๔๖  มีมูลค่านำเข้า ๑๒,๒๘๓ ล้านบาท โดยส่วนใหญ่นำเข้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทาง การแพทย์ประเภทเทคโนโลยีระดับกลางถึงระดับสูงจากประเทศสหรัฐ อเมริกา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
          เป็นที่น่ายินดีว่าปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยในด้านการพัฒนาวัสดุการ แพทย์ เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศอย่างจริงจัง และมีหน่วยงานที่ทำ วิจัย และพัฒนาเพิ่มมากขึ้น โดยกระจายอยู่ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เกือบทุกแห่ง และศูนย์วิจัยเฉพาะทาง เช่น ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) โดยแบ่งเป็น  ๒  ส่วน คือ ส่วนของอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ ซึ่งผลิตจากวัสดุประเภทโลหะเป็นส่วนใหญ่ และในส่วนของวัสดุ ซึ่งมีการวิจัย เน้นหนักทางด้านพอลิเมอร์ เซรามิก และคอมโพสิต เช่น ไฮโดรเจล ไคทิน ไคโต ซาน พอลิเมทิลเมทาคริเลต ไฮดรอกซีแอปาไทต์ คอมโพสิตของพอลิเอทิลีนและไฮดรอก ซีแอปาไทต์ อะมัลกัม ปรากฏว่าผลงานวิจัยบางส่วนได้มีการนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

          นอกจากนี้ปัจจุบันเริ่มมีบริษัทของคนไทยที่ผลิตและจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ จำพวกอุปกรณ์ปลูกฝัง เช่น แผ่นโลหะดามกระดูก สกรู  อุปกรณ์ยึดตรึงกระดูกภายนอก อุปกรณ์ยึดตรึงกระดูกสันหลัง แต่วัสดุ หรือ วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตเครื่องมือแพทย์ดังกล่าวส่วนใหญ่ยังต้องนำเข้า จากต่างประเทศ  เนื่องจากยังไม่มีการผลิตขึ้นเองในประเทศไทย


 

DBD Registation

รายการสินค้าทั้งหมด

(เชียงใหม่อุปกรณ์การแพทย์) อุปกรณ์การแพทย์, อุปกรณ์สำหรับผู้ป่วย จัดส่งถึงบ้านคุณ

บทความสาระดีๆ

Joomla Templates and Joomla Extensions by ZooTemplate.Com

Statistics

  • สมาชิก : 1
  • Content : 36
  • จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 729125

จัดส่งโดย

 

วัสดุและอุปกรณ์การแพทย์ในประเทศไทย ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้วัสดุการแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ เพื่อรักษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก แต่วัสดุและอุปกรณ์การแพทย์ที่สามารถผลิตได้ ในประเทศจัด เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับต่ำถึงระดับกลาง คือ อ่านต่อ

ความเป็นมา เดิมก่อนที่ประเทศไทยจะมีกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์โดยตรงนั้น เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์เกิดขึ้น กระทรวงสาธารณสุขมักจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น อ่านต่อ

แผลกดทับเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เอง ผิวหนังถูกกดทับเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวก ส่งผลให้ผิวหนัง อ่านต่อ

ผู้ป่วยอัมพาตที่รับตัวไว้ในโรงพยาบาลหลังจากอาการของโรคคงที่ แพทย์จะให้กลับบ้าน ดังนั้นญาติผู้ป่วยและแพทย์ควรปรึกษากันว่าจะดูแลผู้ป่วยหลังออกจากโรง พยาบาลอย่างไร ที่จะนำเสนอเป็นเพียงหัวข้อตัวอย่าง การวางแผนควรกระทำตั้งแต่วันแรกที่นอนโรงพยาบาล ดังนี้ อ่านต่อ