การเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต
การเตรียมตัวก่อนกลับบ้าน
ผู้ป่วยอัมพาตที่รับตัวไว้ในโรงพยาบาลหลังจากอาการของโรคคงที่ แพทย์จะให้กลับบ้าน ดังนั้นญาติผู้ป่วยและแพทย์ควรปรึกษากันว่าจะดูแลผู้ป่วยหลังออกจากโรง พยาบาลอย่างไร ที่จะนำเสนอเป็นเพียงหัวข้อตัวอย่าง การวางแผนควรกระทำตั้งแต่วันแรกที่นอนโรงพยาบาล ดังนี้
•    การเตรียมที่อยู่ที่ปลอดภัย
•    การเตรียมเครื่องช่วยในการดำเนินชีวิต
•    เตรียมวางแผนการฟื้นฟูสภาพที่บ้าน
•    การเตรียมผู้ช่วยเหลือ
การเตรียมที่อยู่ที่ปลอดภัย
เนื่องจากผู้ป่วยอัมพาตหลังออกจากโรงพยาบาลร่างกายยังไม่แข็งแรงพอจึงจำเป็น ต้องเตรียมสถานที่เพื่อให้ปลอดภัย และส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูสภาพดำเนินไปอย่างรวดเร็ว โดยต้องจัดเตรียมดังต่อไปนี้
•    ห้องนอน ควรจัดห้องนอน ห้องน้ำ และห้องอาหารให้อยู่ชั้นเดียวกัน เพื่อที่ผู้ป่วยสามารถเดินช่วยตัวเองให้มากที่สุด
•    เตียง ผู้ป่วยที่ยังช่วยตัวเองไม่ดี หรือรับประทานอาหารเองไม่ได้ควรใช้เตียงเหมือนเตียงในโรงพยาบาล พื้นเตียงควรเป็นพื้นไม้ โดยสามารถปรับหัวเตียง และมีราวสำหรับให้ผู้ป่วยยึดจับสำหรับพลิกตัว เตียงควรมีความสูงพอเหมาะที่จะดูแลผู้ป่วยได้ง่าย ผู้ป่วยสามารถนั่งที่ขอบเตียงโดยเท้าแตะพื้น
•    หากผู้ป่วยไม่สามารถพลิกตัวด้วยตัวเอง อาจมีความจำเป็นต้องใช้เตียงลมเพื่อป้องกันแผลกดทับ
•    ไม่ควรมีของตกแต่งชิ้นเล็กชิ้นน้อยเพราะอาจตกแตกได้
•    ควรติดราวไว้ในห้องน้ำ และทางเดินเพื่อให้ผู้ป่วยยึดเวลาเดิน
•    ดูเรื่องแสงต้องสว่างพอ
•    ไม่ควรมีธรณีประตูเพราะผู้ป่วยอาจจะสะดุดได้
การเตรียมเครื่องช่วยในการดำเนินชีวิต
ผู้ป่วยที่ยังไม่แข็งแรงเดินด้วยตัวเองไม่คล่องจำต้องมีเครื่องช่วยเดิน เช่น
•    เตียงนอนควรเป็นเตียงที่แข็งแรง พื้นเตียงควรเป็นไม้ และสามารถปรับความสูงต่ำได้
•    ที่นอน ต้องเป็นที่นอนที่แน่น ไม่นุ่มหรือแข็งเกินไป ผ้าปูที่นอนต้องขึงตึง ไม่มีรอยย่นหรือรอยพับ เพื่อกันไม่ให้เกิดการถูไถกับผิวหนังผู้ป่วยอันจะนำมาซึ่งแผลกดทับได้
•    cane ไม้เท้าช่วยเดิน อาจมีขาเดียว 3ขา หรือ4ขา เหมาะสำหรับประคองตัว
•    walker เป็นคอกสี่เหลี่ยมมี4ขาใช้สำหรับประคองตัว
•    braces อุปกรณ์ให้ข้อเท้า และเท้าอยู่ในตำแหน่งที่เดินได้
•    Wheelchair รถเข็นสำหรับผู้ป่วยที่เดินไม่ได้
•    อุปกรณ์เสริมอื่น เช่น กระโถน ถาดอาหารเป็นต้น
การเตรียมผู้ช่วยเหลือคนไข้
โดยทั่วไปผู้ช่วยเหลือคนไข้มักจะเป็นญาติของผู้ป่วย เช่น สามีหรือภรรยา ลูก พี่น้อง หรือเพื่อนบ้าน หรืออาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ตามศูนย์บริการ ผู้ช่วยเหลือคนไข้จะมีหนึ่งคนเป็นหลักที่จะดูแลผู้ป่วยเป็นส่วนใหญ่ ส่วนคนอื่นอาจมาช่วยเป็นครั้งคราว เช่นช่วยตอนกลางคืน หรือวันหยุด ดังนั้นก่อนที่ผู้ป่วยจะกลับบ้านผู้ช่วยเหลือคนไข้สามารถจะต้องเข้าใจและ สามารถให้บริการแก่ผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางอารมย์ของผู้ป่วยด้วยและผู้ ช่วยเหลือคนไข้สามารถควรได้รับการอบรบการดูแลผู้ป่วย การช่วยเหลือผู้ป่วยแต่ละรายจะไม่เท่ากันเนื่องจากสภาพผู้ป่วยไม่เหมือนกัน ก่อนผู้ป่วยกลับบ้านท่านผู้อ่านลองตรวจดูว่าผู้ช่วยเหลือคนไข้ที่ท่านจัดหา สามารถทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้หรือยัง
 

DBD Registation

รายการสินค้าทั้งหมด

(เชียงใหม่อุปกรณ์การแพทย์) อุปกรณ์การแพทย์, อุปกรณ์สำหรับผู้ป่วย จัดส่งถึงบ้านคุณ

บทความสาระดีๆ

Joomla Templates and Joomla Extensions by ZooTemplate.Com

Statistics

  • สมาชิก : 1
  • Content : 36
  • จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 729118

จัดส่งโดย

 

วัสดุและอุปกรณ์การแพทย์ในประเทศไทย ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้วัสดุการแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ เพื่อรักษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก แต่วัสดุและอุปกรณ์การแพทย์ที่สามารถผลิตได้ ในประเทศจัด เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับต่ำถึงระดับกลาง คือ อ่านต่อ

ความเป็นมา เดิมก่อนที่ประเทศไทยจะมีกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์โดยตรงนั้น เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์เกิดขึ้น กระทรวงสาธารณสุขมักจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น อ่านต่อ

แผลกดทับเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เอง ผิวหนังถูกกดทับเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวก ส่งผลให้ผิวหนัง อ่านต่อ

ผู้ป่วยอัมพาตที่รับตัวไว้ในโรงพยาบาลหลังจากอาการของโรคคงที่ แพทย์จะให้กลับบ้าน ดังนั้นญาติผู้ป่วยและแพทย์ควรปรึกษากันว่าจะดูแลผู้ป่วยหลังออกจากโรง พยาบาลอย่างไร ที่จะนำเสนอเป็นเพียงหัวข้อตัวอย่าง การวางแผนควรกระทำตั้งแต่วันแรกที่นอนโรงพยาบาล ดังนี้ อ่านต่อ